28 กันยายน 2552
ตั้งแต่เธอถูกตัดสินคดีลงโทษ 18 ปี พัศดีปฏิบัติกับเธออย่างเลวร้าย ประการแรก ใช้ป้ายเขียนว่า “อาฆาตมาดร้ายสถาบัน” จากข้อความเดิม “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”
ตั้งแต่ศาลอาญาตัดสินคดีแล้ว ผู้คุมปฏิบัติเลวร้ายมากขึ้น เรียกเธอมาข่มขู่ทุกวัน อาจจะเป็นจิตวิทยาในการกำราบนักโทษให้หวาดกลัว แต่ทว่าก็ไม่ได้ผล 100% เธอเล่าว่า นักโทษประเภทหัวแข็งที่ข่มขู่แล้วไม่กลัวก็มีอยู่บ้าง ในที่สุดผู้คุมเหล่านี้ไม่สามารถทำอะไรได้
เธอเคยรับเลือกเป็นหัวหน้าห้อง ครั้งหนึ่งเธอเคยเตือนนักโทษคนอื่นที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม แต่เธอถูกตอกหน้าจากนักโทษคนนั้น เช้าวันต่อมา เธอยังถูกเยาะเย้ยต่อหน้าผู้คุม ที่เป็นท้าทายกับผู้คุม แต่ผู้คุมดูเหมือนว่าไม่รับรู้
ครั้งหนึ่งเธอทำหัวหน้าห้องด้วยการตักเตือนนักโทษอีกคนหนึ่ง แต่นำไปสู่การตบตี การลงโทษของผู้คุมคือ ลงโทษทั้งสองฝ่ายโดยไม่สนใจถึงเหตุผล ทั้งที่เหตุการทะเลาะมาจากการที่เธอปกป้องผลประโยชน์ของเรือน วิธีการลงโทษนี้ เหมือนกับแก้ปัญหาการทะเลาะของเด็กชั้นประถม
เธอเล่าว่า ถูกแยกขังเดี่ยวตลอดเวลากลางวัน และกลับมานอนร่วมกับผู้ต้องขังอื่นๆ ในเวลากลางคืน โดยที่ผู้ต้องขังอื่นๆ ก็ถูกตักเตือนไม่ให้พูดคุยด้วย และให้ผู้ต้องขังรายอื่นรายงานต่อเจ้าหน้าที่เรือนจำในกรณีที่พูดคุยกับเธอ
การนอนในห้องขังเป็นการเบียดติดกันอย่างแออัด ถ้ามีคนป่วยเป็นไข้หวัดหมู (ทางการไทยเรียกว่า ไข้หวัด 2009) ก็จะติดต่อกันทั้งหมดได้ทันที
เธอได้แต่ภาวนาว่า จะไม่มีไข้หวัดหมูระบาดในเรือนจำ ถ้ามีก็คงไม่ได้รับความสนใจในการบำบัดรักษา เพราะพวกเขาไม่ได้เป็นคน คนในสังคมอาจจะคิก ถ้าพวกนี้ตายก็จะลดภาระงบประมาณรัฐลงไป ดังนั้น จึงเป็นความสิ้นหวังที่เรี้ยกร้องให้มีการจ่ายยาราคาแพงและมีน้อยสำหรับพวกเธอ
วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)