27 กันยายน 2552
ไปเยี่ยมคุณ ดารณี เชิงชาญศิลปกุล เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 ในครั้งนี้ เธอเล่าให้ฟังว่า กว่าเธอจะได้ออกมาพบ พัศดีให้ทายว่าใครมาเยี่ยม โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าทายไม่ถูก จะไม่ห้ามเยี่ยม ในสถานการณ์นี้ คงไม่นับเป็นล้อเล่นประเภท “อะไรเอ่ย” แต่สร้างความตึงเคียดให้กับผู้ต้องขังมากขึ้น
เธอรู้สึกว่า เกม “อะไรเอ่ย” นี้เป็นการละเมิดและทำร้ายจิตใจต่อผู้ต้องขังรุนแรง เพราะการอยู่ในห้องขังเป็นเรื่องที่ทรมานมากอยู่แล้ว และเมื่อมีคนมาเยี่ยมแล้วไม่ได้เยี่ยมเป็นบีบคั้นจิตใจมากขึ้น
ในทางปฏิบัติยังไม่แน่ชัดว่า เรือนจำได้ใช้วิธี “อะไรเอ่ย” ในการอนุญาตให้เยี่ยมหรือไม่ ถ้าจริง ก็ต้องนับว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องขัง
เธอเล่าว่า พวกนักโทษหัวแข็งหรือประเภทกล้าขัดขืน ผู้คุมก็แทบจะไม่ทำอะไรกับนักโทษกลุ่มนี้ แต่ผู้คุมมักจะข่มขู่กับนักโทษที่พวกเขาสามารถข่มขู่ได้หรือพวกหัวอ่อน
บางคนถูกข่มขู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากผู้คุม สิ่งเหล่านี้เป็นสร้างความกดดันอย่างยิ่ง การข่มขู่กับพวกหัวอ่อนอาจจะเป็นการตอบสนองอารมณ์ของผู้คุม อาจจะเป็นเพราะพวกเขาไม่สามารถทำอะไรกับพวกหัวแข็งจึงต้องหาที่ลง หรือพวกเขาในฐานะพวกอำนาจนิยมที่สามารถใช้อำนาจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่น่าแปลกที่ทำไม พวกเขาทำอะไรกับพวกหัวแข็งไม่ได้
เธอเล่าว่า ไม่น่าแปลกใจที่มีนักโทษฆ่าตัวตาย เนื่องจากความกดดันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทุกวันในระยะเวลายาวนาน คนที่ออกจากเรือนจำ ย่อมเป็นคนผิดปกติทางจิตในที่สุด
การปกครองของเรือนจำในแบบนี้ ย่อมไม่สามารถทำให้คนเลวเปลี่ยนเป็นคนดีได้ เพราะคนสิ้นหวังในการทำความดี นักโทษหลายรายต้องโทษด้วยความผิดเล็กน้อย บางรายต้องรับโทษเพราะคนอื่น เช่น คดียาบ้าบางราย สามีค้า แต่ภรรยาต้องติดคุก เป็นต้น
นอกจากจะออกไปพร้อมกับความผิดปกติทางจิต และยังทำให้คนที่ออกไปมีศีลธรรมที่ต่ำลง
ดา ตอปิโด เห็นว่าสมควรจะต้องทบทวนการปกครองและบริหารนักโทษเพื่อทำให้ผู้พ้นโทษกลายเป็นคนดีของสังคม อาจจะเริ่มต้นกฎหมายราชทัณฑ์ปัจจุบันสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในยุคนี้หรือไม่
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น